ถ้าหากเราขับรถไปตามถนนหนทางต่างๆ คุณจะพบกับเครื่องหมายจราจรปรากฏไปตลอดเส้นทาง เครื่องหมายเหล่านี้ทำหน้าที่แบ่งช่องถนน จัดระเบียบเส้นทางเดินรถ และบอกให้ผู้ใช้ถนนรู้ว่าต้องขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัยกับทั้งตัวเอง ผู้ใช้รถคันอื่นและคนเดินเท้า เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนนได้
เส้นจราจรมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะมีรูปแบบของเส้น ขนาดและสีที่ต่างกัน สื่อความหมายต่างกัน แต่อย่างไรก็ดีเส้นจราจรทุกประเภทจะต้องมีมาตรฐานที่เหมือนกันทั่วประเทศเพื่อคงความหมายเดิมให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน จะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง
ร้านไทยจราจร เห็นว่ามาตรฐานของเส้นจราจรเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จึงจะขอนำเสนอความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและขนาดเส้นจราจรที่กรมทางหลวงกำหนดให้ทุกท่านได้อ่าน ดังต่อไปนี้
เส้นจราจรถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามทิศทางการวางตัวของเส้นบนถนน ได้แก่
1.) เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางตามแนวทางเดินรถ และ
2.) เครื่องหมายจราจรบนพื้นตามขวาง โดยเส้นจราจรเหล่านี้ก็จะมีรูปแบบปลีกย่อยและมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไปอีก แต่สิ่งที่เส้นจราจรทุกรูปแบบต้องมีเหมือนกัน คือ ต้องสามารถมองเห็นได้ชัดทั้งกลางวันละกลางคืน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้เทปติดถนนสะท้อนแสงในการตีเส้นจราจร
1.เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางตามแนวเดินรถ
ถูกตีขึ้นให้ทอดขนานไปตามทิศทางการเดินรถบนถนนเพื่อใช้สื่อสารกับผู้ขับขี่ยวดยานพานะให้ขับขี่ไปอย่างปลอดภัย เป็นระเบียบ ไม่สับสนเส้นทาง โดยกรมทางหลวงกล่าวถึงประเภทของเส้นแบ่งว่ามีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ เส้นแบ่งทิศทางจราจร (Separation Lines) , เส้นแบ่งช่องจราจร (Lane Lines) และเส้นขอบทาง (Edge Lines)
1.1 เส้นแบ่งทิศทางจราจร มีลักษณะเป็นเส้นสีเหลือง ใช้สำหรับแบ่งทิศทางถนนที่รถขับสวนกัน เส้นแบ่งทิศทางการจราจรยังสามารถแบ่งออกได้อีก 3 ประเภท ดังนี้
1.1.1 เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ มีลักษณะเป็นเส้นประสีเหลือง แบ่งทิศทางของถนนเป็น 2 ช่องจราจรให้รถขับสวนกันได้ โดยขนาดเส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติของทางหลวงในเมือง ใช้เส้นความยาว 1 เมตร ความหนาวของเส้น 0.10 เมตร เว้นช่อง 3 เมตร และเส้นแบ่งทิศทางการจราจรปกติของทางหลวงนอกเมืองใช้เส้นความยาว 3 เมตร ความหนาของเส้น 0.10 เมตร เว้นช่อง 9 เมตร
- เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง เป็นเครื่องหมายจราจรเส้นเดี่ยวหรือคู่ ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
- เส้นทึบเดี่ยวสีเหลือง หมายถึงบริเวณห้ามแซงบนทางหลวง 2 ช่องจราจร ความหนาของเส้น 0.10 เมตร
- เส้นทึบคู่สีเหลือง หมายถึงบริเวณที่ห้ามแซงทั้งสองทิศทางบนทางหลวง 2 ช่องจราจร ความหนาของแต่ละเส้น 0.10 เมตร ระยะห่างของเส้นขนานทั้งสองเส้นต้องเท่ากับ 1-4 เท่าของความกว้าง
1.1.3เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน ใช้มากบริเวณทางลาดชัน เป็นสีเหลือง ลักษณะเส้นประขนานกับเส้นทึบ โดยที่
- ความกว้างของเส้นทึบเท่ากับ 0.10 เมตร
- ความกว้างของเส้นประเท่ากับ 0.10 เมตร ความยาวเส้นประเท่ากับ 3 เมตร ช่องว่างยาว 9 เมตร
1.2 เส้นแบ่งช่องจราจร (Lane Lines) ใช้ควบคุมการจราจรของถนนที่มีตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไปและเดินรถไปในทิศทางเดียวกัน
- เส้นแบ่งช่องเดินรถ แบ่งช่องเดินรถทิศทางเดียวกันเป็น 2 ช่อง ลักษณะเส้นประสีขาว กว้าง 0.10 เมตร สำหรับทางหลวงนอกเมือง ใช้เส้นยาว 3 เมตร เว้นช่อง 9 เมตร ส่วนทางหลวงในเมือง ใช้เส้นยาว 1 เมตร เว้นช่อง 3 เมตร
- เส้นแสดงความต่อเนื่อง (Continuity Lines) ใช้ในบริเวณที่ต้องเร่งหรือลดความเร็ว เป็นเส้นประสีขาวที่มีความกว้าง 0.20-0.30 เมตร ยาว 2 เมตร เว้นระหว่างเส้น 4 เมตร
- เส้นแนวช่องเดินรถผ่านทางแยก พบบริเวณทางแยก นิยมใช้เส้นประแบบถี่สีขาว กว้าง 0.10 เมตร ยาว 1 เมตร เว้นระยะ 2 เมตร
- เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ เป็นเส้นทึบสีขาว ทำหน้าที่บอกให้รู้ว่าต้องขับอยู่ภายในช่องจราจรเท่านั้น โดยความกว้างเส้นเป็น 0.10 เมตร แต่ถ้าหากลากต่อจากเส้นแสดงความต่อเนื่อง ให้ใช้ความกว้างเป็น 0.20-0.30 เมตร
- เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทาง เส้นนี้มีลักษณะเป็นเส้นประถี่มาก มีความกว้าง 0.20 เมตร ยาว 0.60 เมตร และเว้นช่องว่าง 0.60 เมตร
- ในถนนที่รถประจำทางเดินรถไปในทางเดียวกับรถปกติจะใช้เส้นประสีขาว
- ในถนนที่รถประจำทางเดินรถสวนทางกับรถปกติจะใช้เส้นประสีเหลือง
1.2.6เส้นขอบทางใช้แสดงสุดขอบทางเดินรถ โดยปกติจะเป็นเส้นทึบหรือประสีขาวถูกตีให้ห่างจากฉนวนแบ่งช่องเดินรถ แต่ถ้าหากขอบทางอยู่ติดกับเกาะกลางถนนให้ใช้เส้นสีเหลือง มาตรฐานของเส้นขอบทางต้องกว้าง 0.10 เมตร
2.เครื่องหมายจราจรบนพื้นตามขวาง
เป็นเส้นที่วางขวางแนวเดินรถ ซึ่งเส้นประเภทนี้มีอีก 4 รูปแบบ ได้แก่
2.1 เส้นหยุด เป็นเส้นทึบสีขาว ตีขวางทางเดินรถบริเวณที่ต้องหยุดรถ ต้องมีความกว้าง 0.30-0.60 เมตร ขึ้นกับความเร็วรถ ถ้าหากมีเส้นทางข้ามขวางอยู่ เส้นหยุดต้องอยู่ห่างจากเส้นทางข้ามประมาณ 1 เมตร
2.2 เส้นให้ทาง เป็นเส้นประสีขาว ยาว 0.60 เมตร ระยะห่างเท่ากับ 0.30 เมตร กว้าง 0.30-0.60 เมตร เช่นกัน
2.3 เส้นทางข้าม แถบหนาสีขาวหลายๆ แถบประกอบกัน เส้นทางข้ามยังแบ่งได้อีก 2 ประเภท ได้แก่
- ทางม้าลาย เป็นแถบหนาสีขาว วางเรียงตัวขนานกันขวางทางเดินรถ โดยมีความยาว 2-4 เมตร หนา 0.60 เมตร เว้นระยะระหว่างเส้น 0.80 เมตร
- แนวคนข้าม หรือ ทางเดินคนข้าม เป็นเส้นแถบมีความหนาและช่องว่างเหมือนทางม้าลาย แต่จะมีความยาว 8 เมตร และต้องมีสัญญาณไฟจราจรอยู่ด้วยเสมอ
2.4 เส้นทแยงห้ามหยุดรถ เป็นเส้นทแยงสีเหลืองตัดกันไปมาอยู่ภายในกรอบสีเดียวกัน โดยเส้นกรอบมีความหนา 0.20 เมตร ส่วนเส้นทแยงมีความหนา 0.15 เมตร
มาตรฐานของเส้นจราจรเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากผู้อ่านท่านใดกำลังมองหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตีเส้นจราจรให้ได้ตามที่กรมทางหลวงกำหนด หรือกำลังมองหาอุปกรณ์การจราจรอื่นๆ ร้านไทยจราจร ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ที่ www.trafficthai.com
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found