5 โครงการสำคัญ ทางด่วนที่ไหนจะขึ้นบ้าง ?

ทางด่วนเป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่สัญจรไปมาทั้งในการทำงาน การท่องเที่ยว รวมถึงการติดต่อธุรกิจและการประสานงานด้านต่าง ๆ ซึ่งเรียกได้ว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจหรือการขยายตัวของสังคมเมืองไปสู่เขตภูมิภาคมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างมาก ซึ่งร้านไทยจราจรได้รวบรวม 12 ทางด่วนของไทยที่อยู่ในแผนการดำเนินการก่อสร้างและมีความคืบหน้าที่ควรติดตามในปี 2019 หลายเส้นทาง ได้แก่

  1. ทางด่วนที่เชื่อมกับวงแหวนรอบ กทม. ได้แก่ 

1.1 เส้นทางเชื่อมจากเส้นศรีรัช-วงแหวนรอบนอก กทม. ไปทางเส้นแจ้งวัฒนะ เป็นระยะทางราว 360 เมตร เพื่อให้การเดินทางไปแจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยคาดว่าจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการได้ฟรีช่วงต้นปี 2019 และเชื่อมั่นว่าจะมีผู้ขับขี่รถยนต์ใช้งานเส้นทางใหม่นี้ ไม่น้อยกว่า 2600 คันในแต่ละวัน

1.2 ทางด่วนพระรามสาม ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอก กทม. (ฝั่งตะวันตก) เป็นเส้นทางที่มีมูลค่าประมาณการที่กว่า 30,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มสร้างในต้นปี 2019 น่าจะเสร็จสิ้นพร้อมให้บริการได้ในต้นปี 2022

1.3 ทางด่วนส่วนเชื่อมไปวงแหวนรอบนอกกทม. (ฝั่งตะวันออก) และส่วนต่อขยายสายเหนือขั้นที่สอง หรือ N2 เป็นโครงการที่มีมูลค่าราว 14,000 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มงานโครงสร้างได้ปลายปี 2019 และเสร็จสิ้นพร้อมทดลองใช้งานในปี 2022 

1.4 ทางด่วนส่วนเชื่อมระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุข (หรือที่รู้จักกันในชื่อเส้นดอนเมืองโทลล์เวย์) และเส้นศรีรัช-วงแหวนรอบนอก กทม. หรือ Missing link เป็นระยะทางประมาณ 2.6 กม. มีมูลค่าโครงการราว 4,600 ล้านบาท

  1. ทางด่วนเชื่อมต่อจุดขนส่งสินค้าทางน้ำ ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง อย่างสอดรับนโยบายส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC บริเวณท่าเรือกรุงเทพ กับทางด่วนสายบางนา-อาจณรงค์ หรือ เส้น S1 เป็นทางด่วนที่มีการประเมินมูลค่าโครงการที่ราว ๆ 5,000 ล้านบาท (ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) 
  1. ทางด่วนส่วนต่อขยายจาก กทม. ไปพื้นที่ในเขตต่างจังหวัดรอบกทม. ได้แก่

3.1 ทางด่วนพระรามสาม-ดาวคะนอง ไปเขตพื้นที่สมุทรปราการ เป็นเส้นที่คาดว่าจะมีระยะไม่มากนัก คือ 10 กิโลเมตร แต่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจสูงเพราะเป็นเมืองที่มีโรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่น้อยต่อมูลค่าสินค้าที่เป็นรายได้เข้าสู่ประเทศ

3.2 ทางด่วนส่วนต่อขยาย เชื่อมจากเส้นเดิมที่มีอยู่อย่างบูรพาวิถีให้ไปสิ้นสุดปลายทางที่นิคมอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกขนาดใหญ่ อย่าง อมตะนคร จ.ชลบุรี ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าราว 7,000 ล้านบาท เชื่อมั่นว่าจะลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดสำหรับการเดินทางไปสายตะวันออก ชลบุรี ระยอง ได้อย่างมาก 

  1. ทางด่วนเชื่อมโยงโซนต่างจังหวัดที่ไกลจาก กทม. ได้แก่

4.1 ทางด่วนสายกะทู้ถึงป่าตอง จ.ภูเก็ต มีระยะทาง 3.98 กม. มีมูลค่าโครงการประมาณ 14,000 ล้านบาท จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางสู่จังหวัดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอย่าง ภูเก็ต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในแง่ความสวยงามของทัศนียภาพและความสะดวกสบายของแหล่งชอปปิ้งที่ทันสมัย อาทิ จังซีลอน ห้างเซ็นทรัล คิงพาวเวอร์ โอเชียนพลาซ่า ป่าตอง เดอะการ์เด็นภูเก็ต เป็นต้น

4.2 เส้นมอเตอร์เวย์พาดผ่านระหว่างนครปฐมกับชะอำ เป็นระยะทาง 109 กิโลเมตร คาดว่าต้องใช้เงินลงทุนราว 80,000 ล้านบาท จะทำการประมูลโครงการในต้นปี 2019 

4.3 ทางด่วนสายอุดรรัถยาไป จ. อยุธยา เป็นระยะทางราว 42 กิโลเมตร คาดว่ามีมูลค่าการลงทุนประมาณ 31,000 ล้านบาท 

4.4 ทางด่วนสายฉลองรัช ผ่านนครนายก ไปสิ้นสุดที่ จ.สระบุรี เป็นระยะทางราว 104.7 กิโลเมตร และใช้เงินลงทุนราวกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งหากแล้วเสร็จจะเท่ากับเป็นการขยายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่จังหวัดใกล้เคียง กทม. ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

  1. เส้นมอเตอร์เวย์ข้ามประเทศจากหาดใหญ่ ผ่านชายแดนทางใต้ ไปสุดที่มาเลเซีย คาดว่ามีมูลค่าโครงการราว 57,000 ล้านบาท และจะประมูลโครงการในต้นปี 2019 หากโครงการแล้วเสร็จจะเท่ากับเป็นการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่สำคัญระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะเป็นการนำร่องสู่การขยายทางด่วนหรือการเชื่อมโยงคมนาคมสู่ประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ต่อไป

จะเห็นได้ว่าเส้นทางด่วนที่นำเสนอไปนั้น ล้วนเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้สัญจรไปมา และเป็นผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศในระยะยาว ทั้งนี้ในระหว่างการก่อสร้างทางด่วน ผู้ขับขี่รถยนต์ควรระมัดระวังจุดก่อสร้างด้วยการสังเกตอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและการจราจรที่ติดตั้งชั่วคราว ทั้งกลางวันและกลางคืน ได้แก่

กรวยจราจรพร้อมธงราวขาวแดง หรือ โซ่พลาสติกล่ามระหว่างกรวยจราจร ทุก ๆ 100 เมตร หรือ แผงกั้นจราจรแบบเคลื่อนย้ายได้วางต่อกันเป็นแนวขาวแดง

แบร์ริเออร์สีส้มสะท้อนแสงแบบบรรจุน้ำ ที่ใช้แสดงสัญลักษณ์ว่าห้ามเข้า และใช้ป้องกันพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ให้ปลอดภัยจากรถยนต์พาหนะที่ขับขี่ไปมา

ป้ายเตือนกล่องไฟแสดงว่าเป็นเขตก่อสร้างภายใต้หน่วยงานใดที่รับผิดชอบ

ในส่วนของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติภารกิจหน้าจุดก่อสร้างทางด่วน ต้องใส่ใจกับการสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย เช่น หมวกนิรภัย แว่นตานิรภัย รวมถึงเสื้อจราจรสะท้อนแสง โดยเฉพาะการทำงานในเวลากลางคืนหรือช่วงเวลาที่ทัศนวิสัยไม่ดี เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินด้วย

ร้านไทยจราจรขอสนับสนุนโครงการดี ๆ เพื่อการคมนาคม และขอให้ทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ ไม่ประมาท และควรสังเกตจุดที่มีการก่อสร้างเพื่อชะลอความเร็ว ลดความเสี่ยงต่ออุบัติภัยทางรถยนต์ที่อาจเกิดได้ตลอดเวลา หากท่านสนใจเสริมสร้างความปลอดภัยในการขับขี่และการจราจร เชิญชมสินค้าของเราได้ที่ www.trafficthai.com 

Block "content-bottom" not found