การทำธุรกิจในปัจจุบัน นอกจากจำเป็นต้องคำนึงถึงการควบคุมค่าใช้จ่าย ในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการจัดเก็บสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้มีสินค้าพอจำหน่าย แต่ก็ไม่ทำให้สินค้าล้นสต๊อกเกินความจำเป็นด้วย เพราะอาจส่งผลต่อสภาพคล่องตัวของบริษัทได้
นอกจากนี้ การใช้สูตรหรือเทคนิคคำนวณปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม ยังมีประโยชน์มากอีกด้านหนึ่ง คือการเลือกสถานที่จัดเก็บสินค้า ซึ่งปัจจุบัน มีโกดังหรือคลังสินค้าให้เช่า อยู่หลายขนาดพื้นที่ หากสามารถคำนวณสต๊อกได้อย่างแม่นยำ ก็จะทำให้ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเช่าสถานที่ขนาดใหญ่เกิดจำเป็นด้วย
ในการนี้ ร้านไทยจราจรจึงได้รวบรวม 5 เทคนิค สำหรับคำนวณคาดการณ์สต๊อกสินค้าอย่างแม่นยำมาฝากกัน ดังนี้
เทคนิคที่ 1 คือการคำนวณ MRP หรือ Material Requirement Process
เป็นเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการการไหลเวียนของวัตถุดิบที่เสียหายได้ง่ายให้มีประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะธุรกิจด้านอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ฯลฯ ที่มีความเสื่อมคุณค่าทางโภชนาการ และมีวันหมดอายุสั้น คือ ช่วง 6 เดือน ถึง 2 ปี โดยมีข้อดี ดังนี้
- MRP เป็นการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการคำนวณจำนวนหน่วยกิโลกรัมหรือตัน และช่วงเวลา (เป็นวัน หรือเดือนล่วงหน้า) ไม่มีสูตรคำนวณที่ยุ่งยาก สามารถเข้าใจได้ง่าย กล่าวคือ หากผลิตซีอิ๊วขาว ก็คำนวณโดยตรงจากสูตรส่วนผสมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ ตามสัดส่วนหรือ สูตรเฉพาะของโรงงาน แล้วทำการสั่งจากแหล่งผลิตวัตถุดิบนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง
- MRP เป็นการคาดการณ์สต๊อกแบบระบบผลัก หรือ Push system ซึ่งจะมีการคำนวณหลังจากมีออเดอร์สินค้าเข้ามาในระบบ ไม่ใช่การตั้งค่าไว้ล่วงหน้า จึงป้องกันการค้างสต๊อกของสินค้ารุ่นเก่า ๆ ได้
- ช่วยลดมูลค่าความเสียหายจากวัตถุดิบประเภทที่เน่าเปื่อยเสียหายได้เป็นอย่างมาก จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมจำพวกอาหารสด อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย ฯลฯ
เทคนิคที่ 2 คือการคำนวณ EOQ หรือ Economic Order Quantity
เทคนิคนี้มีชื่อที่ เรียกกันทั่วไปว่า “ค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด” โดยมุ่งเน้นที่ค่าใช้จ่ายรวมในการสั่งสินค้ามาเก็บไว้ในสต๊อกให้น้อยที่สุด โดยมีหลักการ คือ
- คิดค่าใช้จ่ายรวมจากสององค์ประกอบ คือ (1) ค่าใช้จ่ายจากต้นทุนสินค้าเอง และ (2) ค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บในคลังสินค้า
- เทคนิคนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการเลือกคลังสินค้าที่จะต้องเช่ามากขึ้น เพราะ เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ (ค่าใช้จ่ายส่วนที่ (2) ของข้อแรก)
ต้องพิจารณา เลือกคลังสินค้าที่ให้ทั้งความคุ้มค่าและความปลอดภัยสูง อาทิ มีระบบแสงสว่างเพียงพอจากโคมไฟถนนระบบโซล่าเซลล์ มีระบบกล้องวงจรปิดพร้อมไม้กระดกกั้นรถ สำหรับควบคุมการเข้าออกคลังสินค้าด้วยคีย์การ์ด มีมาตรการรับมือกับเหตุไฟไหม้(มีป้ายทางออกฉุกเฉิน ถังดับเพลิง และไซเรนส่งสัญญาณเสียงเตือนภัย เป็นต้น )
- มีสูตรที่ใช้กัน คือ √ 2 DO / C
โดย ค่า D คือปริมาณความต้องการสินค้าในช่วงเวลา 1 ปี ค่า O คือ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อของแต่ละรอบบิล และ ค่า C คือค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าต่อหน่วยต่อปี เพียงนำตัวเลขข้อมูลต่าง ๆ มาเข้าในสูตร ก็จะได้ค่า EOQ เพื่อการสต๊อกสินค้าที่เหมาะสม
เทคนิคที่ 3 คือการคำนวณแบบ JIT หรือ Just-In-Time
จัสอินทาม หรือการส่งมอบแบบทันเวลาตามออเดอร์ทันที ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือเป็นการส่งวัตถุดิบให้โรงงานปลายทาง มีหลักการ คือ
- JIT เป็นเทคนิคแบบ pull concept คือ เมื่อมีออเดอร์เข้ามาในระบบจะส่งข้อมูลไปยังบริษัทให้ทำการส่งสินค้าไปที่ตลาดปลายทาง หรือตามที่นัดหมายในทันที
- เป็นเทคนิคที่ทำให้ลดความฟุ่มเฟือยของจำนวนบุคลากรที่ต้องใช้ในการทำงาน หรือWork In Process ลงได้ รวมถึงลดจำนวนงานระหว่างทำ และลดจำนวนสินค้าสำเร็จรูป หรือ Finished Goods ลง ได้อย่างมาก
เทคนิคที่ 4 คือเทคนิค CycleCount
เรียกได้ว่า เป็นเทคนิคที่ต้องใช้เวลามากกว่าข้ออื่น ๆ โดยมีหลักการ ดังนี้
- ใช้วิธีการนับสินค้าบ่อย ๆ ทุกวัน เพื่อให้ได้ ทราบสถานะสินค้าที่ใกล้เคียง กับความเป็นจริงมากที่สุด
- ก่อนการนับจะมีการจัดแบบสินค้าตามหมวด ABC เพื่อให้จัดระบบง่าย เช่น สินค้าหมวด A เป็นสินค้าที่สำคัญมากที่สุด ห้ามขาดจากสต๊อกโดยเด็ดขาด หมวด B สำคัญระดับปานกลาง และหมวด C สำคัญน้อยที่สุด แต่มีจำนวนมากกว่าสินค้าประเภทอื่น ๆ
- มีข้อเสียที่อาจเกิดอุบัติภัยจากสินค้าที่ตุนไว้จำนวนมาก และมักเรียงไว้ในที่สูงหล่นใส่ตัวพนักงานได้ จึงต้องกำชับให้พนักงานสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย เช่น เสื้อจราจรสะท้อนแสง และหมวกนิรภัยในการปฏิบัติงานเสมอ
เทคนิคที่ 5 คือระบบเทคโนโลยี RFID
เป็นการติดบาร์โค้ดหรือการใช้เทคโนโลยีเก็บข้อมูลที่ทันสมัย เป็นไปได้ว่า ในปี 2020 จะมีการใช้เทคนิคนี้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยมีข้อดี ดังนี้
- การติด RFID จะช่วยให้พนักงานที่ดูแลสต๊อกเห็นตำแหน่งของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และลดเวลาค้นหาสินค้าได้เป็นอย่างมาก
- RFID จะช่วยลดความผิดพลาดในการนับสต๊อกที่เกิดจากคนได้
- ระบบ RFID สามารถเชื่อมโยงกับ Internet และเทคโนโลยีอื่น ๆ ในอนาคตได้ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคลังสินค้าในภาพรวม
การใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการคำนวณคาดการณ์สต๊อกสินค้า จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และช่วยในการเลือกขนาดคลังสินค้าที่จะเช่าได้อย่างเหมาะสมด้วย
หากท่านกำลังมองหา อุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงานหรือบริษัท เชิญชมสินค้าของเราได้ที่ www.trafficthai.com ร้านไทยจราจร เรายินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
Block "content-bottom" not found