อปพร. เป็นงานหนึ่งในสังคมไทย ที่เริ่มต้นมาจากการเป็นจิตอาสา แล้วกลายเป็นหน่วยปฏิบัติการหนึ่งด้านการรักษาความปลอดภัย ภายใต้รูปแบบเดียวกัน คือ มีกฎหมายรับรอง โดย อปพร. ย่อมาจากคำว่า อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่ในการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย และในวันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี ถือว่าเป็นวันสถาปนา อปพร. ของไทย เพื่อเชิดชูเกียรติ และเป็นการระลึกถึงความสำคัญของงานอาสาสมัคร อปพร. ที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า อปพร. เริ่มมาจากธรรมเนียมในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมัยพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2057-2071) ที่เป็นยุคแห่งการศึกสงคราม ช่วงชิงอำนาจด้วยยุทธวิธีการรบพุ่งและกลศึกต่าง ๆ จึงต้องอาศัยความสมัครสมานและจิตใจที่รักชาติของคนไทย หรือชาวสยามในสมัยนั้น ในการตีกลองประกาศเตือนภัย ทั้งกลองมหาฤกษ์ ที่ตีเมื่อมีข้าศึกเข้ามาในระยะประชิด หรือ กลองพระมหาระงับดับเพลิง ที่เป็นการเตือนอัคคีภัย ฯลฯ จนกระทั่งได้เลิกประเพณีเหล่านี้ไปในสมัย รัชกาลที่ห้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ร้านไทยจราจรมีความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ อปพร. รวมถึงการนำมาซึ่งข้อสรุปที่ว่างาน อปพร. มีคุณประโยชน์ต่อสังคมไทย ใน 5 ประการ คือ
1. งาน อปพร. เป็นงานจิตอาสาที่สอดคล้องกับสังคมไทย เนื่องจากวัฒนธรรมไทย มีการผูกสมัครรักใคร่ฉันท์ญาติมิตรมาช้านาน การใส่ใจกันและกันในชุมชน จึงเป็นเสมือนหนึ่งวิถีชีวิต ที่ทุก ๆ คนมีส่วนร่วมเป็นหูเป็นตาดูแลสอดส่อง ซึ่งเรียกได้ว่าสอดคล้องกับหนึ่งในประเภทงาน อปพร. คือ การช่วยเจ้าหน้าที่รัฐตรวจหาบุคคลหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ต่อภัยอันตราย ทั้งที่มาจากคน เช่น เหตุการณ์ก่อการร้าย การโจรกรรมต่าง ๆ รวมถึง ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น เขื่อนแตกร้าวที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมหมู่บ้านบริเวณนั้น หรือภาวะน้ำป่าไหลหลาก ที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยและการเดินทางของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่นิยมเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากขึ้นในปัจจุบัน
2. งาน อปพร. เป็นงานที่ทำให้คนในชุมชนสามารถใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้ดีขึ้น เปรียบเหมือนเป็นหนึ่งกระบอกเสียงของชุมชน เช่น การแนะนำว่าจุดใดเป็นมุมอับที่เสี่ยงต่อการจี้ปล้น หรือ รถเฉี่ยวชน พร้อมกับให้ อปพร. ประสานกับภาครัฐ เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในเชิงป้องกันเหตุก่อนเกิดภัยต่อประชาชน เช่น เพิ่มการติดตั้งโคมไฟถนนระบบโซล่าร์เซลล์ การเพิ่มกระจกโค้งจราจร ทั้งแบบติดตั้งที่พื้นและแขวนกับเสาไฟฟ้าหรือต้นไม้ใหญ่ในบริเวณจุดหักเลี้ยวรถ หรือมุมแคบต่าง ๆ
3. การประสานงานกับภาครัฐ เช่น หน่วยดับเพลิง ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิด้านจิตอาสา ฯลฯ จะสะดวกรวดเร็วและตอบโจทย์ความต้องการที่ฉับไวของประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อชุมชนตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น มีเหตุไฟไหม้ หรือ น้ำขังสูงจากเหตุการณ์ฝนตกต่อเนื่อง หรือ การมีอุบัติภัยทางรถยนต์ที่ปิดขวางเส้นทางถนนหรือการจราจร อปพร. จะเป็นคนกลางที่ช่วยประสานกับเจ้าหน้าที่หน่วยต่าง ๆ ที่กล่าวมา เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเป็นระบบ ไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการแจ้งข้อมูลกับภาครัฐ จนทำให้เกิดความวุ่นวายโกลาหลในการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย
4. การประชาสัมพันธ์หรือขอความร่วมมือต่าง ๆ จากชุมชน อปพร. จะเป็นสื่อกลางที่เชื่อมโยงความร่วมมือให้เกิดผลเชิงรูปธรรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากความเข้าใจพื้นเพและอุปนิสัยของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ หากมีมาตรการใด ๆ จากภาครัฐ เช่น การกวดขันเรื่องการระบาดของยาบ้า ยาเสพติด หรือ การเปิดของร้านเหล้าเถื่อน หรือการขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ให้กับเด็กและเยาวชน อปพร. จะช่วยเป็นผู้ดำเนินการประสานและคิดโครงการในเชิงปฏิบัติการที่สามารถได้รับความร่วมมือจากประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างดีที่สุด
5. การเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านความปลอดภัย ทั้งส่วนทฤษฎีและปฏิบัติ เช่น
– การซักซ้อมแผนป้องกันเหตุอัคคีภัย การซักซ้อมเส้นทางหนีไฟ เทคนิคการดูป้ายทางออกฉุกเฉิน และการเคลื่อนคนออกนอกอาคารอย่างเป็นระบบถูกแบบแผน
– การซ้อมใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนภัยให้กับประชาชน โดยประสานกับนิติกรตามอาคารเช่าพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟไซเรน การใช้ไซเรนเสียงแบบมือหมุน การใช้ถังดับเพลิง หลักการใช้ห่วงชูชีพและเสื้อชูชีพ เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้เครื่องมือด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
– การฝึกใช้อุปกรณ์ด้านการปฐมพยาบาล รวมถึงการใช้เปลสนาม เพื่อการขนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วและลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียอวัยวะหรือชีวิตให้มากที่สุด
จะเห็นได้ว่าเหตุผลทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมา แสดงถึงความสำคัญของงาน อปพร. ที่มีต่อชุมชนและสังคมไทย ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ทั้งยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาแต่ดั้งเดิม คือ การใช้จิตอาสาที่มีความรักในชุมชนและอยากเห็นชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสภาพสังคมที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างมีความสุขของทุก ๆ คน ลดความหวาดระแวงภัย และทำให้พร้อมต่อการรับมือจากภัยด้านต่าง ๆ ในชุมชน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเห็นชุมชนมีความปลอดภัยสูงขึ้น ในการอยู่อาศัยหรือการสัญจรไปมาบนท้องถนน เชิญเลือกชมสินค้าที่ตอบโจทย์งาน อปพร. และงานด้านความปลอดภัย-งานจราจร ได้ที่ ร้านไทยจราจร www.trafficthai.com