10 งาน ที่ต้องให้ จป. มีความรับผิดชอบ เพื่อความปลอดภัย!!

จป. เป็นเจ้าหน้าที่ตำแหน่งที่มีภาระงานต้องดูแลด้านความปลอดภัยภายในสถานที่ เช่น ภายในไลน์การผลิต รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบโรงงานให้มีความเหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดต่อสุขภาพอนามัย รวมถึงต้องลดตัวเลขความเสี่ยงของอุบัติภัยต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยยังคงสมรรถภาพ หรือประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้ได้สูงสุด เพื่อตอบโจทย์การเติบโตทางธุรกิจขององค์กรพร้อมกัน

ร้านไทยจราจรจึงได้รวบรวม 10 งานที่จำเป็นต้องให้ จป. เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้แก่

1. การทำหน้าที่วิเคราะห์จุดเสี่ยงหรือจุดอันตรายของโรงงาน และพื้นที่โดยรอบ เพื่อหาป้องกันอุบัติภัย เช่น พื้นที่ลาดชันภายในโรงงาน แม้กฎหมายจะกำหนดให้มีความลาดเอียงไม่เกิน 15 องศา แต่การติดแถบสะท้อนแสง หรือ ยางกันลื่น ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยลดเปอร์เซ็นต์อุบัติภัยภายโรงงานได้ หาก จป. ประเมินว่าพื้นที่ใดเป็นจุดเสี่ยง ก็จะทำรายงานเสนอในที่ประชุมหรือเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงได้โดยตรง หากพบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว เพื่อรีบแก้ไขโดยด่วน

2. การทำสถิติอุบัติภัย รวมถึงการเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยแต่ละเดือน จป. ต้องสรุปเป็นป้ายสถิติความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในโรงงานได้ตระหนัก และมีกำลังใจยิ่งขึ้น หากพบว่ามีตัวเลขอุบัติเหตุน้อยลง หลังการออกมาตรการหรือกฎข้อบังคับเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อความร่วมมือในการทำตามรายการตรวจสอบหรือเช็คลิสต์ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

3. จป. มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลจากการทำงานจริงภายในโรงงาน เพื่อมาวิเคราะห์วางแผนประเด็นหรือ หัวข้อในการอบรมลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงาน ให้ทำงานด้วยความไม่ประมาท รวมถึงการอัพเดตข่าวสารใหม่ ๆ หรือ การยกกรณีศึกษาตามหน้าข่าว เช่น เหตุการณ์มือติดในเครื่องจักร การมีน้ำกรดกระเด็นถูกร่างกาย หรือการตกบ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นอุทาหรณ์ให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการทำตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทมากขึ้น เช่น ต้องสวมถุงมือนิรภัย การสวมเอี๊ยมกันน้ำ และสารพิษ การมีห่วงชูชีพใกล้บริเวณบ่อน้ำ ฯลฯ ทั้งนี้ จป. ต้องปรับทัศนคติผู้ปฏิบัติงานว่า ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากในขั้นตอน หรือ การมีเช็คลิสต์ที่ละเอียดขึ้นเพียงใด ก็เพื่อวัตถุประสงค์หลักคือ ให้ทุกคนทำงานด้วยความปลอดภัยนั่นเอง

4. จป. ต้องสามารถเสนอแนวทางหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า เพื่อเพิ่มอำนาจในการแข่งขันทางธุรกิจกับเจ้าอื่น โดยการหมั่นเรียนรู้จากองค์กรทางธุรกิจแบบคล้ายกันจากการแลกเปลี่ยนในงานประชุม การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การแลกเปลี่ยนซักถามจากกลุ่มคู่ค้าพันธมิตร หรือการอ่านงานวิจัยใหม่ ๆ ด้วยความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อผนวกกับองค์ความรู้ใหม่และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็ทำให้ได้ผลลัพธ์การพัฒนางานความปลอดภัยที่ชัดเจนขึ้น

5. จป. ต้องตรวจตราความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องจักร สารเคมี ที่ต้องใช้ในการทำงานทุกวัน ทั้งขั้นการเตรียมวัตถุดิบ การผลิต การแปรรูปต่าง ๆ ตลอดจนเทคนิคเฉพาะด้านที่จำเป็นก็ต้องควบคุมดูแลให้มีความพร้อมก่อนการเริ่มงานในทุกวัน ตัวอย่าง เช่น อุตสาหกรรมทำอาหารแปรรูป ต้องมีการฆ่าเชื้อ ฉายรังสีต่าง ๆ โดยต้องควบคุมเวลาที่ฉายรังสีและความเข้มข้นของรังสีตามเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษเมื่อผู้บริโภครับประทาน ทั้งยังต้องมีช่วงเวลาฉายรังสีที่เหมาะสมและมีอุปกรณ์นิรภัยสำหรับเจ้าหน้าที่ เพิ่มการติด ไฟกระพริบ หรือ ไฟไซเรน หน้าห้อง หากกำลังอยู่ในช่วงปฏิบัติการทางรังสี เพื่อให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องระวังการเข้าในโซนดังกล่าวด้วย

6.เมื่อลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น หรือลางานโดยไม่ทราบสาเหตุ จป.จำเป็นต้องสืบสาวสาเหตุและหาว่าเกิดจากการทำงานหรือไม่ เช่น ปัญหาโรคทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดได้กับการสูดดมแก๊สพิษในปริมาณและเวลานานกว่าปกติ หรือการไม่ได้สวมอุปกรณ์หน้ากากป้องกันสารพิษ หรือ การระเคืองเคืองตา ตาแดงอักเสบ จากการไม่สวมแว่นนิรภัย เป็นต้น

7. จป. เป็นผู้เช็คหรือตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์หนีไฟที่มีมาตรฐาน ทั้งถังดับเพลิง ป้ายไฟฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ ที่กฎหมายระบุให้มีความกว้างที่เหมาะสม และลักษณะต้องไม่เป็นคอขวด รวมถึงต้องมีการซักซ้อมหนีไฟ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของ จป. ในการจัดสถานการณ์จำลองทุก ๆ เดือน

8. การทำงานประสานกับบุคลากรหรือองค์กรภายนอก เช่น กระทรวงแรงงาน ในการทำเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นผู้รับผิดชอบหลักเมื่อมีการตรวจมาตรฐานโรงงานสำหรับการต่ออายุใบอนุญาตตามเวลา

9. การติดตามผลจากการประชุม หรือ การแก้ไขข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรม เช่น การเพิ่มอุปกรณ์การปลอดภัย เข็มขัดนิรภัย แก่แม่บ้าน พนักงานขับรถ หรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องยกสิ่งของหนัก เพื่อลดปัญหาโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหลังอักเสบ หรือการขอซื้อ รถเข็นอเนกประสงค์เพิ่ม เพื่อช่วยให้การเคลื่อนย้ายสิ่งของภายในโรงงานทำได้สะดวกรวดเร็วและลดอุบัติเหตุได้ดีขึ้น

10. การทำโครงการจัดอบรม จป. เป็นผู้มีประสบการณ์ในการเขียนแผนโครงการ และมีทักษะในการบริหารจัดการงบประมาณโครงการ ตลอดจนมีเทคนิคในการจัดอบรม และการเลือกใช้ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่สำคัญคือสามารถทำตามแบบฟอร์ม หรือตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด เพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานสำหรับการประเมินโรงงานได้

จะเห็นได้ว่างานทั้ง 10 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น เป็นงานที่หน้าที่ จป. สามารถรับผิดชอบและต่อยอดเพื่อพัฒนาการปรับภูมิทัศน์ การแก้ไขจุดบกพร่อง และการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยให้แก่โรงงานหรือหน่วยงานภาคเอกชนได้

หากท่านสนใจเสริมสร้างความปลอดภัยหรือยกระดับงานด้าน จป. เชิญชมสินค้าคุณภาพของร้านไทยจราจรได้ที่ www.trafficthai.com