7 ข้อ การป้องกันไฟไหม้ในบ้านของคุณ

บ้านคืออาคารสถานที่สำคัญที่สำคัญสำหรับคุณและครอบครัว หากบ้านเสียหายหรือประสบภัยพิบัติใดย่อมทำให้ต้องเสียกำลังทรัพย์จำนวนมากมาซ่อมแซมหรือซื้อใหม่ แต่ถึงกระนั้นก็อาจเทียบไม่ได้กับของที่มีคุณค่าต่อความรู้สึก รวมถึงความทรงจำความผูกพันที่คุณมีต่อบ้านหลังที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานได้ ยิ่งหากภัยจากไฟไหม้รุนแรงจนส่งผลต่อชีวิตหรือสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยก็ยิ่งกลายเป็นภัยพิบัติที่มิอาจประเมินค่าความสูญเสียได้ ทางร้านไทยจราจรจึงอยากขอแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเพลิงไหม้กับบ้านของคุณตามรายละเอียดต่อไปนี้

1. การตรวจสอบสภาพของระบบไฟ สายไฟ แหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า รวมถึงสภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกตัวภายในบ้านนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดไฟฟ้าลัดวงจรคือการที่กระแสไฟรั่วไหลออกมานอกระบบอันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของสายไฟและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลออกมาจะเปลี่ยนแปรเป็นความร้อนและทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้อันเนื่องมาจากปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจสอบสภาพระบบไฟอยู่เสมอ อาจตรวจด้วยตนเองง่าย ๆ ว่าเมื่อปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดแล้วมิเตอร์ยังคงหมุนอยู่หรือไม่ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟฟ้าอัตโนมัติเอาไว้

2. การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ตามบ้านที่อยู่อาศัยก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงที่จำเป็นได้ อย่างถังดับเพลิง หรืออุปกรณ์ดับไฟอัตโนมัติ การติดตั้งถังดับเพลิงควรติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถหยิบใช้ง่าย หากกังวลว่าจะมองไม่เห็นก็สามารถซื้อป้ายตั้งถังดับเพลิงมาใช้เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและเข้าถึงอุปกรณ์ถังดับเพลิงได้ทันเวลา ตลอดเวลาที่ต้องการใช้งาน และเมื่อติดตั้งแล้วจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้งาน พร้อม ๆ กับการบำรุงรักษาที่เพียงพอและทำให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ดับเพลิงที่ติดตั้งอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

3. การเตรียมความพร้อมทางหนีไฟ บางครั้งทางเข้าออกจากอาคารที่พักอาศัยเพียงทางเดียวก็อาจเพียงพอ โดยเฉพาะรูปแบบของอาคารที่อยู่สมัยใหม่ในเมืองที่มีพื้นที่จำกัด ทำให้จำนวนชั้นของอาคารมีเพิ่มมากขึ้นอย่างคอนโด หรือบ้านที่มีหลายชั้น การคำนึงถึงทางหนีไฟจากชั้นบนของอาคารก็นับว่าเป็นตัวช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันก็มีตัวช่วยที่ติดตั้งง่าย ใช้งานได้สะดวกอย่างบันไดหนีไฟ ซึ่งในปัจจุบันมีรูปแบบพกพาที่สามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ใช้งาน และเมื่อจะใช้งานก็เพียงแขวนไว้กับหน้าต่าง คลายเชือกที่มัดแล้วปล่อยขั้นบันไดออกมา เพียงเท่านี้ก็พร้อมให้ผู้คนในอาคารออกมาจากอาคารได้แล้ว

4. การฝึกพฤติกรรมที่ปลอดภัย พฤติกรรมการใช้งานบางอย่างอาจเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้โดยที่ผู้อาศัยอยู่ภายในบ้านไม่ทันรู้ตัว อย่างการเสียบสายไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งเอาไว้แม้ไม่ใช้งาน การเก็บสะสมขยะหรือของเสียที่ติดไฟได้ง่ายเอาไว้ภายในบ้านมากเกินไป หรือการเปิดวาล์วแก๊สทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งาน สิ่งเหล่านี้นับว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย ดังนั้นผู้อยู่อาศัยทุกคนควรฝึกแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้ให้ดี โดยเฉพาะเมื่อจะไม่มีใครอยู่บ้าน คุณควรเดินสำรวจว่ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าใดเปิดทิ้งเอาไว้หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุไม่คาดฝันในระหว่างที่ไม่มีใครสังเกตเกิดขึ้น

5. การใช้งานปลั๊กพ่วงมากเกินไป การนำปลั๊กพ่วงมาใช้งานอาจทำให้สะดวกในการเพิ่มอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่หากใช้มากเกินไปอาจเกิดปัญหากระแสไฟฟ้าเกินกำลังและมีการรั่วไหลออกมาได้ ยิ่งสายไฟที่นำมาใช้ไม่การต่อสายดิน หรือนำไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินกำลังไฟเป็นปริมาณมาก ๆ อย่างเตาอบไฟฟ้า ตู้แช่แข็ง หรือเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรเลือกใช้สายไฟที่มีขนาดเหมาะและเดินสายไฟให้เรียบร้อยแทน รวมถึงการติดตั้งสายดินเอาไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย

6. การติดตั้งไฟฉุกเฉิน เพราะเหตุเพลิงไหม้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแม้แต่ในเวลากลางคืน ดังนั้นควรติดตั้งระบบให้แสงสว่างในกรณีฉุกเฉินเอาไว้ภายในบ้านด้วย ซึ่งระบบไฟฉุกเฉินนี้ควรทำงานได้ทันทีที่กระแสไฟฟ้าปกติถูกตัดหรือเกิดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าปกติได้ทันที ควรติดตั้งให้ครบทุกชั้นของตัวบ้าน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนในบ้านจะสามารถเคลื่อนย้ายออกจากสถานการณ์ไฟไหม้ได้ทันเวลาอยู่เสมอ

7. การออกแบบบ้านและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ในปัจจุบันวัสดุการก่อสร้างหลายประเภทมีคุณสมบัติในการทนไฟได้นาน หลายประเภทมีลักษณะไม่ติดไฟเลย ทำให้กลายเป็นส่วนประกอบที่ช่วยป้องกันไม่ให้บ้านเกิดความเสียหาย หรือออกแบบให้ตัวบ้านมีระบบระบายอากาศและกระจายความร้อนที่ดี สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดเพลิงไหม้ได้ หรืออาจเว้นพื้นที่รอบบ้านให้กว้างขวางเพียงพอสำหรับเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาดำเนินการระงับเหตุเมื่อบ้านเกิดเพลิงไหม้ได้

เมื่อเตรียมความพร้อมต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีแล้ว การป้องกันให้บ้านปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ก็ไม่เป็นเรื่องที่ยากอีกต่อไป อุปกรณ์หลายอย่างอาจมีราคาสูง อย่างบันไดหนีไฟแบบพกพา ถังดับเพลิง หรือระบบแสงสว่างฉุกเฉิน แต่เมื่อเทียบกับความปลอดภัยของผู้ที่พักอาศัยแล้ว จะพบว่าเป็นความคุ้มค่าที่ไม่อาจประเมินราคาได้เลย ทางร้านไทยจราจรหวังว่าการเตรียมความพร้อมที่ดี ปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงให้ลดลง และเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพซึ่งจะช่วยให้ทุกท่านและบ้านของท่านปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ได้