อาชีพ จป. หรือเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย ต้องผ่านการเรียนและอบรมตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อมีความรู้ความสามารถพื้นฐานในด้านต่าง ๆ เพียงพอสำหรับการประยุกต์เข้ากับสถานการณ์จริง โดยเน้นที่ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจเอกชนด้านอื่น ๆ เช่น แก๊ส เคมี น้ำมัน ฯลฯ
ผู้ที่ทำหน้าที่ จป. จึงต้องมีความรับผิดชอบสูง และมีหน้าที่งานที่ต้องรับผิดชอบหลายด้าน ซึ่งร้านไทยจราจรได้สรุปงานความปลอดภัยที่ จป. เกี่ยวข้องได้เป็น 18 ข้อ ดังนี้
1. พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ทำงาน เช่น ความสูงของโต๊ะทำงาน ตู้ เก้าอี้ ม้านั่ง ที่วางเท้าของพนักงานชาย-หญิง ความลึกของตู้ที่พอเหมาะกับระดับสายตาของผู้ปฏิบัติงานชาย-หญิง ที่ไม่ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า เช่น ก้มหรือเงยมากเกินไป หรือตู้สูงและลึกเกินกว่ามาตรฐานความสูงคนไทยทำให้หยิบของตกหล่นเสียหายได้
2. ดูแลความกว้างของพื้นที่สัญจรภายโรงงาน ที่ต้องเหมาะสมเพียงพอทั้งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และการเคลื่อนย้ายของภายในอาคารด้วยรถขนส่ง รถเข็นอเนกประสงค์แบบต่าง ๆ
3. กำหนดทิศทางการสัญจรของคนและรถขนส่งทั้งภายในและภายนอกอาคารให้ชัดเจนด้วย เทปสีสะท้อนแสง ติดพื้น ควบคู่กับป้ายจราจรต่าง ๆ เพื่อป้องกันการสวนทางหรือตัดหน้ากัน ทำให้เกิดความขัดแย้งและมีอุบัติเหตุได้ ทั้งควรติด หมุดถนน ที่พื้นนอกอาคารซึ่งสามารถเห็นเส้นทางการเดินรถได้ชัดเจนขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง
4. การมี ป้ายเตือน ในบริเวณที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น ระวังของตกจากที่สูง ต้องมีป้ายเตือนให้สวมกันน็อค เป็นต้น
5. ต้องลดความรุนแรงของเหตุอัคคีภัยได้ ด้วยการตรวจสอบ ป้ายตั้งถังดับเพลิง และอบรมพนักงานทุกคนให้สามารถใช้อุปกรณ์ดับไฟได้ ทั้งยังต้องมีอุปกรณ์ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในจุดต่าง ๆ อย่างเพียงพอ และมีป้ายทางออกฉุกเฉิน หรือ Emergency Exit Sign ที่ชัดเจน ควบคู่กับต้องกำหนดความกว้างของช่องทางออกฉุกเฉินไม่ให้มีลักษณะแคบเป็นคอขวดด้วย
6. สำรวจความพร้อมและกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวจากสารเคมี-สารพิษจากกระบวนการผลิต เช่น ชุดเอี๊ยมกันน้ำ แว่นตานิรภัย ถุงมือยาง ฯลฯ
7. ตรวจสอบความปลอดภัยด้านมลพิษ ด้วยเครื่องมือเฉพาะ วัดปริมาณของฝุ่น และแก๊สต่าง ๆ ที่เป็นโทษต่อร่างกาย ต้องอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
8. การนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแต่ละเดือน เช่น จำนวนครั้งของอุบัติภัย การเจ็บป่วยของพนักงาน มาทำเป็น ป้ายสถิติความปลอดภัย เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้พนักงานทุกคนทำงานด้วยความตั้งใจ ไม่ประมาทเลินเล่อ และไม่ละเลยการทำตามระเบียบเพื่อความปลอดภัยในโรงงาน
9. หากมีโรงบำบัดน้ำเสีย บ่อพักน้ำหรือบ่อเกรอะ ซึ่งเป็นแหล่งมลพิษทางอากาศ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น หน้ากากอนามัยเกรดสูงที่กรองอากาศได้ดีกว่าปกติ
10. เมื่อได้เครื่องจักรมาใหม่ จป. ต้องศึกษากลไกและขั้นตอนการใช้เครื่องจักร รวมถึงประเมินถึงจุดเด่นจุดด้อยของอุปกรณ์ ก่อนจะทำเป็นคู่มือหรือ Protocol ให้พนักงานใช้งานได้อย่างถูกต้อง และลดอุบัติเหตุจากความไม่ชำนาญได้มาก
11. ทางด้านอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน ต้องหมั่นประเมินสภาพจิตใจของผู้ทำงาน จากการพูดคุย และผลการทำแบบทดสอบสุขภาพจิตใจเฉพาะงานที่มีความเครียดหรือความกดดันสูง เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
12.การดูแลด้านความสว่างให้เพียงพอทั้งภายในภายนอกโรงงาน เพื่อป้องกันไม่ให้มีมุมอับ ด้วยการติดไฟกระพริบโซล่าเซลล์ รวมถึงทำการติดกระจกโค้งจราจร ขนาดต่าง ๆ ไว้ในจุดหักศอกหรือจุดที่ทัศนวิสัยไม่ดี เพื่อลดจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
13.เตรียมอุปกรณ์ ไว้ให้พร้อมสำหรับงานปฐมพยาบาลอย่างฉุกเฉิน เช่น เปลสนาม หรือ เปลฉุกเฉิน เพื่อลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ รวมถึงต้องหมั่นซักซ้อมเหตุการณ์ต่าง ๆ เลียนแบบสถานการณ์จริง อย่างน้อยทุก 1 – 3 เดือน
14. ศึกษาการวางแผนผังโรงงาน เพื่อเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ปฏิบัติงานและขนาดพื้นที่
15. แนะนำให้เจ้าของโรงงาน ติดตั้งไม้กระดกอัตโนมัติ พร้อมกล้องวงจรปิด เพื่อควบคุมการเข้าออกเฉพาะบุคคลภายใน ร่วมกับการแลกบัตรสำหรับบุคคลภายนอก ทั้งนี้ ควรให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สวมเสื้อจราจรคาดแถบสะท้อนแสง เสมอเมื่อปฏิบัติหน้าที่
16. เพิ่มการสำรองอุปกรณ์ความปลอดภัยและด้านการจราจรที่จำเป็นกรณีมีเหตุฉุกเฉิน เช่น หากไฟฟ้าตก ควรมีสปอตไลท์ไฟฉายให้แสงสว่างสำรอง หากมีเหตุให้สายพานการผลิตหยุดชะงัก ควรมีไฟไซเรนหมุนเป็นสัญลักษณ์ให้ทุกคนทราบ เป็นต้น
17. ให้มีการติด ยางกันรถลื่น หรือ เทปกันลื่น ในจุดที่มีความลาดชันต่างจากพื้นผิวปกติ เพื่อป้องกันรถขนส่งของไหล
18. จป. เป็นผู้กำหนดทิศทางหรือวางตารางแผนการอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะหากกำลังมีเหตุการณ์ข่าวที่เป็นประเด็นจากการขาดความระมัดระวัง หรือความประมาท ก็สามารถยกมาเป็นประเด็นตัวอย่าง เพื่อเตือนให้ทุกคนเห็นโทษของการไม่ปฏิบัติตามระเบียบความปลอดภัย
จะเห็นได้ว่าอาชีพ จป. จำเป็นต้องมีความรู้รอบด้านและมีความรู้เชิงลึกสำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ทำอยู่ จึงจะสามารถเข้าใจเนื้องาน ฝึกอบรม และออกมาตรการเพื่อความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม
ร้านไทยจราจรหวังว่าข้อมูลงานด้านความปลอดภัยของ จป. จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำงานด้านอุตสาหกรรมโรงงาน และหากท่านประสงค์ซื้อสินค้าด้านความปลอดภัย เชิญชมสินค้าของเราได้ที่ www.trafficthai.com