กรวยจราจร ควรใช้ความสูงเท่าไหร่ ??

กรวยจราจร

        กรวยจราจรคืออุปกรณ์ควบคุมการจราจรที่สามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลายมากที่สุด มีการนำไปใช้ตามจุดต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งทางหลวงที่รถราผ่านสัญจรมากมาย หรือภายในบริเวณอาคารสถานที่ส่วนบุคคล กรวยสามารถมีสีสันได้หลากหลาย แต่ที่พบเห็นได้ทั่วไปคือสีขาวสลับส้ม ซึ่งแถบสีขาวควรสะท้อนแสงได้เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไกล หรือในเวลากลางคืน สามารถมีได้ตั้งแต่ 1 แถบขึ้นไป ซึ่งนอกจากสีสันจะมีความสำคัญในการสร้างจุดสังเกตให้มองเห็นได้ง่ายแล้ว ความสูงของกรวยก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้กันด้วย ซึ่งต้องใช้งานควบคู่กับตำแหน่งการจัดวางที่เหมาะสมและประเภทของรถราที่สัญจรผ่านไปมาด้วย โดยทางร้านไทยจราจรขอแนะนำวิธีการเลือกความสูงของกรวยที่เหมาะสมกับการใช้งานดังต่อไปนี้

 

1. ความสูงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานอุตสาหกรรมได้มีการกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์กรวยสำหรับงานจราจรเอาไว้ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดของฐานเพื่อให้สามารถวางได้อย่างมั่นคง ไม่ล้มง่ายแม้ว่าพื้นผิวถนนจะไม่เรียบหรือเป็นระนาบ โดยความสูงตามมาตรฐานนั้นก็คือ 500 มิลลิเมตรที่ความกว้างของฐาน 300 มิลลิเมตร ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ความสูงของกรวยที่ 700 มิลลิเมตร ต้องมีความกว้างของฐาน 340 – 360 มิลลิเมตร โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 7 มิลลิเมตร และความสูงของกรวยที่ 800 มิลลิเมตร ต้องมีความกว้างของฐาน 420, 440 และ 450 มิลลิเมตร มีค่าความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 7 มิลลิเมตร
2. ความสูงที่สัมพันธ์กับขนาดของแถบสะท้อนแสง นอกจากความสูงจะต้องตรงตามมาตรฐานกับฐานวางกรวยแล้ว ความสูงของกรวยยังต้องสัมพันธ์กับจำนวนของแถบสะท้อนแสงด้วย โดยมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนดให้ความกว้างของแถบสะท้อนแสงอยู่ที่ 100 – 150 มิลลิเมตร โดยกรวยที่มีความสูง 500 มิลลิเมตรต้องมีแถบสะท้อนแสงอย่างน้อย 1 แถบ แต่หากมีความสูงที่ 700 – 800 มิลลิเมตรต้องมีแถบสะท้อนแสงอย่างน้อย 2 แถบ และมีระยะห่างระหว่างแถบที่ 50 – 60 มิลลิเมตร ระยะห่างของแถบสะท้อนแสงกับปลายยอดของกรวยควบคุมการจราจรอยู่ที่ 75 – 100 มิลลิเมตร
3. ความสูงของกรวยที่มองเห็นได้ชัดเจน ตามท้องถนนหลวงที่รถราและยานพาหนะมากมาย ความสูงของกรวยควรเพียงพอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้กรวยที่ความสูงประมาณ 700 มิลลิเมตร แต่ในพื้นที่ทำงานพิเศษที่มีรถขนาดใหญ่อยู่มาก ๆ ก็อาจมีการนำกรวยที่มีความสูง 1000 มิลลิเมตรมาใช้ เช่นในกรณีพื้นที่เหมือง หรือโรงงานที่ยวดยานพาหนะส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ การที่กรวยมีความสูงเป็นพิเศษก็เพื่อช่วยให้ผู้ขับรถบรรทุกมองเห็นได้ง่ายขึ้นนั่นเอง หรือหากเป็นการใช้กรวยเพื่อควบคุมผู้ขับขี่จักรยาน มอเตอร์ไซด์ หรือคนเดินเท้า ก็สามารถเลือกใช้กรวยที่มีความสูงลดลงมาได้ อย่างกรวยควบคุมการจราจรที่มีความสูงประมาณ 300 มิลลิเมตร เป็นต้น
4. ระยะห่างของกรวยที่เหมาะสม เมื่อเลือกความสูงของกรวยจราจรได้แล้ว ควรพิจารณาการจัดเรียงที่เหมาะสมด้วย ในคู่มือการใช้เครื่องหมายจราจร ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้กำหนดว่าระยะห่างของกรวยควบคุมการจราจรที่ดีควรอยู่ที่ 9 เมตร โดยวางเรียงตามแนวยาวของท้องถนน กรณีวางขวางเพื่อควบคุมไม่ให้รถวิ่งผ่านเข้าไป ระยะห่างของกรวยควบคุมการจราจรควรอยู่ที่ 1.2 เมตร โดยหากจำเป็นต้องวางในแนวทแยง มุมของแนวทแยงควรอยู่ที่ 30 – 45 องศา (ที่มาของข้อมูล www.otp.go.th)
5. วัสดุที่นำมาใช้ผลิตกรวยควบคุมการจราจร เมื่อเลือกใช้กรวยควบคุมการจราจรด้วยความสูงที่เหมาะสม มาตรฐานที่สัมพันธ์กับความกว้างของฐานและแถบสะท้อนแสงแล้ว ยังควรเลือกกรวยควบคุมการจราจรจากคุณภาพของวัสดุที่นำมาผลิตด้วย เพื่อให้กรวยมีความยืดหยุ่น แม้จะถูกรถยนต์กระแทกหรือกดทับ และยังควรมีความทนทานต่อสภาวะอากาศในลักษณะต่าง ๆ ทั้งอาการที่ร้อนจากแดดในเวลากลางวัน หรืออากาศเย็นจัดในช่วงฤดูหนาว หรือฤดูฝนที่ตกหนักด้วย

 

           การเลือกกรวยจราจรที่ดีจึงต้องคำนึงทั้งความสูงที่เหมาะสม รายละเอียดตามมาตรฐานที่กำหนดโดยหน่วยงานของรัฐ และวางเรียงด้วยระยะห่างที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นกรวยได้แม้ในระยะไกล ในสภาวะที่มีแสงน้อย หรือมีความเร็วของยานพาหนะอยู่ในระดับใดก็ตาม เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพการใช้งาน หรือหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นมากยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกใช้ร่วมกับอุปกรณ์การจราจรชนิดอื่น ๆ อย่างสัญญาณไฟกระพริบ หรือเทปสะท้อนแสงได้

สรุป

          การใช้กรวยควบคุมการจราจรที่ดียังต้องไม่ละเมิดทางหลวงที่เป็นของสาธารณะที่ต้องใช้งานร่วมกันกับผู้อื่น การนำกรวยจราจรมาใช้ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวจำเป็นต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น เพราะกรวยควบคุมการจราจรถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ถูกออกแบบมาให้มีความทนทานต่อการใช้งานในบริเวณพื้นที่กลางแจ้งและเสี่ยงต่อการเกิดแรงกระแทกอันเนื่องมาจากยานพาหนะหลาย ๆ ชนิดที่ขับขี่ด้วยความรวดเร็ว การวางควรแน่ใจว่ากรวยอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง ไม่มีการล้มลงมากีดขวางการสัญจรของยวดยานพาหนะได้ หากบริเวณที่วางมีลมแรง หรือเสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายก็ควรวางยางเพิ่มน้ำหนักมาช่วยบริเวณฐาน ซึ่งจะช่วยให้การวางกรวยมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นและช่วยให้กรวยอยู่ในความสูงที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาที่ตั้งวางอยู่ได้ดี

Block "call-to-action" not found

Block "content-bottom" not found